โดย : admin | เมื่อ : 2013-09-24 21:34 | เข้าชม : 2985
โรคข้อเสื่อมหมายถึงโรคของข้อที่เกิดกับกระดูกอ่อน cartilage และเยื่อหุ้มข้อ ทำให้มีการสร้างเนื้อเยื่อจำนวนมาก โดยมากจะเกิดบริเวณข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อกระดูกต้นคอ ข้อกระดูกหลัง
ปกติข้อของคน จะมีกระดูกอ่อนหุ้มอยู่ปลายกระดูก ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อราบรื่น กระดูกอ่อนสามารถรับแรงกระแทกจากกระดูก ผู้ที่เกิดกระดูกเสื่อม จะมีกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อสึกและบางลง ทำให้เกิดการเสียดสีของกระดูก เมื่อเวลาเคลื่อนไหว จะเกิดอาการ ปวด บวม แดง ร้อน เมื่อเวลาผ่านไป จะมีการงอกของหินปูนเข้าไปในข้อ และมีเศษกระดูกลอยในข้อ ทำให้เกิดอาการปวดข้อ และเคลื่อนไหวลำบาก
ท่านจะทราบไดอย่างไรว่าเป็นโรคข้อเสื่อม
เนื่องจากโรคนี้จะค่อยๆเป็น และเป็นได้ทุกข้อ อาการ เริ่มด้วยอาการปวดโดยมากมักจะปวดตอนเช้าออกกำลังแล้วหาย หากเป็นมากขึ้นการออกกำลังจะทำให้ปวดมากขึ้น ข้อขยับได้น้อยลงเวลาขยับข้อจะเกิดเสียงกระดูดเสียดสี หลังจากนั้นข้อจะโตขึ้นเนื่องจากมีการสร้างกระดูกอ่อน เอ็น และเนื้อเยื่อเพิ่ม กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรงเวลาเดินจะทำให้ ปวดมากขึ้นข้อที่เป็นได้แก่ ข้อนิ้ว ข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อสะโพก ข้อกระดูกหลัง จากรูปจะพบว่าข้อนิ้วผิดรูป และข้อบวม อาการตามข้อต่างๆ
-
ข้อมือ โดยเฉพาะข้อนิ้วเป็นข้อปลายนิ้วทำให้เกิดตุ่มที่เรียกว่า Heberden nodes มักจะมีประวัติในครอบครัว เป็นมากในผู้หญิง นิ้วที่เป็นจะใหญ่
-
ข้อเข่า
-
ข้อสะโพก
-
กระดูกสันหลัง
สาเหตุของข้อเสื่อม
-
อายุ พบมากในคนสูงอายุแต่ก็ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ
-
อ้วน
-
ข้อได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา หรือจากการทำงาน
-
กรรมพันธุ์
-
อายุน้อยกว่า 45 ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง อายุมากกว่า 45 ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย
อาการของข้อเสื่อม
-
ปวดข้อมักจะปวดข้อตลอดวันหรือปวดมากเวลาใช้งานเวลาพักจะหายปวด ปวดตอนกลางคืน
-
ข้อติดขณะพัก มักจะเป็นไม่นานพอขยับนิ้วสักพักจะดีขึ้น แต่ข้อไม่ติดตอนเช้าเหมือนโรคrheumatoid
-
ข้อจะบวม มักจะเป็นกระดูกที่โตขึ้น
สัญญาณเตือนว่าจะเป็นโรคเข่าเสื่อม
-
มีอาการปวดข้ออยู่ตลอดเวลา
-
ข้อจะยึดหรือข้อติดหลังจากตื่นนอน หรืออยู่ท่าใดท่าหนึ่งนานๆ
-
ข้อบวมหรือกดเจ็บ
-
รู้สึกเหมือนกระดูกกระทบกัน
-
ข้อเสื่อมมักจะไม่มีแดง หรือร้อน
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยจะอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายรวมทั้งการx-ray
การรักษา
-
การทำกายภาพเพื่อป้องกันความพิการ และเพิ่มความแข็งแรงของข้อ ควรได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทาง
-
การออกกำลังควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การออกกำลังจะช่วยลดอาการปวด ข้อมีการเคลื่อนไหวดีขึ้น
-
การเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต เช่น การนั่ง การยืน การนอน การยกของหนัก อ่านที่นี่
-
การเลือกใช้ยาในการลดอาการเจ็บปวด มียาให้เลือก 3 กลุ่มได้แก่
-
ยาในกลุ่ม NSAID เช่น aspirin ibuprofen diclofenac ketoprofen เนื่องจากยาในกลุ่มนี้ระคายกระเพาะ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
-
ใช้ยาแก้ปวดกลุ่มใหม่ชื่อ COX-2 inhibitors ซึ่งมีผลต่อกระเพาะอาหารน้อยได้แก่ยา celecoxib (Celebrex) และ rofecoxib (Vioxx) ผลข้างเคียงอาจจะทำให้บวมและเกิดโรคหัวใจ
-
การใช้ยา paracetamol ซึ่งลดอาการปวดได้ดี แต่ไม่ลดอาการบวม ต้องระวังในผู้ที่เป็นโรคตับ
-
ยาชนิดอื่นทีใช้บรรเทาอาการปวด
-
ยาทาซึ่งมีทั้งชนิดร้อนและเย็น สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวด
-
ยา steroid ฉีดเข้าข้อ เป็นการลดอาการปวดได้ชั่วคราว ไม่แนะนำให้ฉีดเกิน 2-3 ครั้งต่อปี
-
การฉีดสาร hyaluronic acid เข้าไปในข้อเสมือนน้ำหล่อลื่นเทียม
-
การประคบร้อนและประคบเย็น
-
การลดน้ำหนัก
-
การผ่าตัด สามารถทำได้หลายวิธี
-
นำเศษกระดูกอ่อนที่ฉีดขาดทิ้ง
-
ทำให้ผิวกระดูกเรียบ
-
จัดเรียงกระดูกใหม่
-
การเปลี่ยนข้อ
-
การป้องกันการใช้งานข้อมากเกินไป
การใช้ไม้เท้าสำหรับผู้ป่วยเข่าเสื่อม
-
เลือกการออกกำลังกายที่มีแรงต่อข้อน้อยเช่น การขี่จักรยาน การว่ายน้ำ
-
เลือกรองเท้าที่มีแผ่นรองรับการกระแทกเวลาเดิน
-
หากขายาวไม่เท่ากันต้องแก้ไข
-
หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดบ่อยๆ
-
แพทย์ทางเลือกซึ่งมีหลายวิธี.
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายจะให้ประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมอย่างมาก และยังสามารถลดอาการปวด ประโยชน์ของการออกกำลังต่อโรคข้อมีดังนี้
-
การออกกำลังกายจะทำให้ข้อแข็งแรง กล้ามเนื้อแข็งแรง ข้อมีการเคลื่อนไหวได้ดี ทำให้ปวดน้อยลง
-
ข้อที่มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอจะมีความแข็งแรง กระดูกไม่พรุน และไม่มีข้อติด
-
การออกกำลังจะช่วยในการลดน้ำหนัก
|