โดย : admin | เมื่อ : 2013-09-24 21:06 | เข้าชม : 2432
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่1จะมีความดันโลหิตสูง (มากกว่า140/90) ถึงร้อยละ 10-30 หากพบว่าความดันโลหิตสูงจะหมายถึงว่าไตเริ่มเสื่อม
ส่วนเบาหวานชนิดที่2 จะพบว่าความดันโลหิตสูงประมาณร้อยละ 30-50 การเป็นโรคความดันสูงขึ้นกับระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน ความอ้วน เชื้อชาติ ผลจากความดันโลหิตสูงจะทำให้อัตราตายจากโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น การทำงานของไตเสื่อมเร็วขึ้น 2-3 เท่า การเสื่อมของประสาทตาเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการคุมความดันโลหิตสูงให้ดี จะสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานและความดันได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคจอประสาทตาเสื่อม
หลักฐานว่าความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
-
พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จะมีอัตราโรคแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด เป็นสองเท่าของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่เป็นเบาหวาน
-
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูงจะมีโรคแทรกซ้อนเช่น ตา ไต สมองเพิ่มขึ้น
-
พบว่าความดันโลหิตทุก 10 มม ปรอทที่ลดลงจะลออัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนลงได้ร้อยละ 12 ลดอัตราการเสียชีวิตลงร้อยละ 15 ลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ร้อยละ 11
เมื่อพบว่าความดันโลหิตสูงจะต้องทำอย่างไรบ้าง
-
ความดันโลหิตที่สูงกว่า 130/85 มม.ปรอทจะถือว่าความดันดลหิตสูง จะต้องวัดความดันโลหิตให้ถูกวิธี ตรวจวัดความดันโลหิตทั้งสองแขน ท่านอน ท่านั่ง และท่ายืน วัดท่าละสองครั้งหรือมากกว่า
-
เมื่อพบว่ามีความดันโลหิตสูงจะต้องตรวจดูว่ามีโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง เช่นทางหัวใจและหลอดเลือด ไต ต้องตรวจจอประสาทตา ชีพขจรที่คอที่ขา ตรวจปัสสาวะเพื่อหาปริมาณโปรตีน ตรวจเลือดหาการทำงานของไต
-
ตรวจหาความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่นประวัติการสูบบุหรี่ ไขมันในเลือด โรคอ้วน ตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเพื่อวัดระดับดัชนีมวลกาย
-
ปัจจัยที่จะทำให้เปลี่ยนแปลงการรักาา เช่น ระบบประสาทอัตตโนมัติเสื่อม การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
เป้าหมายในการรักษาความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/85 มม.ปรอทในผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วไป สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่สูงอายุจะควบคุมความดันอยู่ที่ 140/90 มม.ปรอท การรักษาความดันโลหิตอาจจะใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเดียวหรือร่วมกับยาลดความดันโลหิต
การแบ่งระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง
Category
|
systolic
|
diastolic
|
Optimal
|
<120
|
<80
|
Normal
|
<130
|
<85
|
High-normal
|
130-139
|
85-89
|
Grade 1 hypertension [mild]
|
140-159
|
90-99
|
Subgroup:borderline
|
140-149
|
90-94
|
Grade 2 hypertension [moderate]
|
160-179
|
100-109
|
Grade 3 hypertension[severe]
|
>180
|
>110
|
Isolated systolic hypertension
|
>140
|
<90
|
subgroup:borderline
|
140-149
|
<90
|
การรักษาความดันโลหิตโดยไม่ต้องใช้ยา
-
ผู้ที่มีความดันโลหิตมากกว่า 120/80 มม ปรอทจะต้องให้การดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
-
ผู้ที่มีความดันโลหิตมากกว่า 140/80 มม ปรอท จะให้ให้การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเริ่มต้นให้ยาลดความดันโลหิต
-
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประกอบไปด้วย
-
ยาลดความดันโลหิตได้แก่ ACE Inhibitor หรือ Angiotensin receptor blocker ตัวใดตัวหนึ่ง
-
อาจจะจำเป็นต้องให้ยามากกว่า 2 ชนิดเพื่อควบคุมความดันโลหิต
-
ควรจะให้ยา 1-2 ชนิดก่อนนอน
-
หากให้ยา ACE Inhibitor หรือ Angiotensin receptor blocker และยาขับปัสสาวะจะต้องติดตามการทำงานของไต และเกลือโปแตสเซี่ยม
-
งดบุหรี่ อ่านที่นี่
การควบคุมดังกล่าวใช้เวลา 3 เดือนจะลดลงได้ 11/8 มม.ปรอท
|