หมวดสินค้า
ทั้งหมด (353)
01. เตียงผู้ป่วย (Hospital bed) (6)
02. รถเข็นผู้ป่วย (Wheel chair) (41)
03. เครื่องวัดความดัน (Blood pressure monitor) (21)
04. เครื่องดูดเสมหะ / น้ำมูก (Suction) (8)
05. เครื่องพ่นละอองยา (Nebulizer) (16)
06. เครื่องวัดน้ำตาล (Glucose monitor) (14)
07. เครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen generator) (9)
08. เก้าอี้นั่งถ่าย (Commode chair) / เก้าอี้อาบน้ำ (Bath bench) (18)
09. ที่นอนลม (Matress) (6)
10. รถเข็นช่วยเดิน (Rollator) (5)
11. ไม้เท้า / ไม้ค้ำ / วอคเกอร์ (Walker) (19)
12. เครื่องวัดปริมาณออกซิเจน (Oximeter) (8)
13. หูฟังหัวใจ (Stethoscope) (3)
14. อุปกรณ์ตรวจหู ตา คอ จมูก (Otoscope,Opthalmoloscope) (5)
15. เบาะหมอนสุขภาพ (Healthy pillow & Mattress) (4)
16. แผ่นลดไข้ / ปั๊มนม / ลูกยาง (1)
17. โต๊ะคร่อมเตียง (Overbed table) (8)
18. เครื่องชั่งน้ำหนัก (Weigher) (20)
19. จักรยานกายภาพ (2)
20. ชุดทำแผลและเฝือก (3)
21. ถุงน้ำร้อน / เครื่องประคบร้อนลดการปวด (Thermo pad) (7)
22. ปรอทวัดไข้ / วัดอุณหภูมิ (Thermometer) (10)
23. ผ้าพันแผล / ผ้าพันเคล็ด (0)
24. ผ้าอ้อมผู้ใหญ่และผู้ป่วย (Adult daipers) (3)
25. เข็มขัดพยุงหลัง (Back support) (2)
26. เครื่องนับก้าว (Pedometer/Step counter) (1)
27. อุปกรณ์สแตนเลส (Stainless instruments) (19)
28. เครื่องช่วยฟัง (Hearing aid) (2)
29. หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ (Autocave) (2)
30. เครื่องวัดความจุปอด (Spirotest) (2)
31. โคมไฟส่องตรวจ/โคมไฟผ่าตัด (Examination lamp) (12)
32. อุปกรณ์ให้อาหารสุนัขแมว (Pet feeder) (7)
33. เครื่องช่วยฟังเสียงทารกในครรภ์ (Fetal dopler) (2)
34. เครื่องนวดอัตโนมัติ (Automatic Compressor Therapy) (6)
35. เก้าอี้นั่งเด็ก (Baby chair) (1)
Vitamins - Blackmore (11)
Vitamins - Mega (30)
Vitamins - Vistra (15)
Vitamins - เสริมสร้างกร้ามเนื้อ (0)
อื่นๆ (4)
เข้าสู่ระบบ
ตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้า
สินค้าขายดี
00547: เครื่องพ่นละอองยา (Primo, Italy).html 00547: เครื่องพ่นละอองยา (Primo, Italy) 2,800 2,000 บาท

00543: ที่นอนลม (Matress).html 00543: ที่นอนลม (Matress) 8,400 7,550 บาท

00033: รถเข็นอัลลอยด์โซม่า รุ่น SM-150.3 F24.html 00033: รถเข็นอัลลอยด์โซม่า รุ่น SM-150.3 F24 0 บาท
รับข่าวสารทางอีเมล
Facebook
แท็ก
Excellenthealth fanpage
โรคปอดอักเสบในเด็ก (childhood pneumonia)
โดย : admin | เมื่อ : 2013-11-29 22:16 | เข้าชม : 3198

โรคปอดอักเสบในเด็ก (childhood pneumonia) เป็น โรคที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยที่รุนแรง บางครั้งอาจทำให้เกิดความพิการ หรือทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้จากโรคเรื้อรังทางปอด หรือโรคหลอดลมโป่งพอง จาก การศึกษาขององค์การอนามัยโลกพบว่า โรคปอดอักเสบเป็นสาเหตุของการตายเป็นอันดับหนึ่งในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ในแต่ละปีจะมีเด็กทั่วโลกที่เสียชีวิตจากปอดอักเสบปีละ 2.4 ล้านคน

ในประเทศกำลังพัฒนา พบ ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบมากกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว 12-15 เท่า สำหรับประเทศไทยพบว่า อัตราการป่วยของโรคปอดอักเสบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 6.2 ต่อปี ในเด็กที่อายุต่ำกว่า
5 ปี ที่เป็นโรคปอดอักเสบส่วนใหญ่ มักมีอาการรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วหลังจากเริ่มป่วย
ผู้ ป่วยเด็กที่รอดชีวิตอาจจะประสบกับภาวะแทรกซ้อน หากมิได้แก้ไขจะทำให้มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็ก และอาจก่อให้เกิดความพิการขึ้นได้


image

สาเหตุ

  1. สาเหตุของโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย มีเพียงส่วนน้อยที่อาจเกิดจาก
    การแพ้ หรือการระคายเคืองต่อสารที่สูดดมเข้าไป
  2. การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ช่วงแรกอาจเป็นแค่หวัด มีไข้ธรรมดา ต่อมาอาจลุกลามเป็นปอดอักเสบได้
  3. ผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสส่วนมากอาการไม่รุนแรง อาจดีขึ้นได้เอง และมีอัตราการเสียชีวิตต่ำ
    เมื่อเทียบกับเชื้อแบคทีเรีย
  4. เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี เช่น การสูดหายใจเข้าไป การสำลัก
    การกระจายของเชื้อตามกระแสเลือดไปสู่ปอด

imageในภาวะปกติระบบหายใจในร่างกายจะมีกลไกในการป้องกันไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคเข้าสู่หลอดลม หรือถุงลมปอดโดยร่างกายมีจมูกเป็นอวัยวะใน
การ กรองเชื้อโรค และฝุ่นละอองไม่ให้เข้าสู่ปอด และขับสิ่งต่างๆ ออกจากร่างกายโดยการไอ นอกจากนี้ในถุงลมปอด ยังมีกลวิธีในการกำจัดเชื้อหลายอย่าง เช่น
เชื้ออาจถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยมีเม็ดเลือดขาว มากินเชื้อโรคหรือมีระบบ
ภูมิคุ้มกันมาทำลายเชื้อโรค


ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่ติดเชื้อโดยการสูดสำลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเวณคอเข้าไปในหลอดลมส่วนปลาย หรือ
ถุงลมปอด
ถ้าจำนวนเชื้อที่สูดสำลักเข้าไปที่ถุงลมมมากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดออกได้ เชื้อเหล่านี้จะแบ่งตัว และ
ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบตามมา ทำให้เนื้อปอดถูกทำลาย การแลกเปลี่ยนออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงทำให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนได้

ผู้ป่วยเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดบวม ได้แก่

  1. เด็กที่อายุน้อย
  2. น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย เด็กคลอดก่อนกำหนด
  3. ภาวะทุโภชนาการ
  4. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือโรคปอดร่วมด้วย
  5. เด็กที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรืออยู่ในชุมชนแออัด สุขาภิบาลไม่ดี
  6. ได้รับควันบุหรี่จากบุคคลรอบข้าง
  7. เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีเด็กมากๆ

image

อาการ

  1. ในระยะเริ่มแรก จะมีอาการไข้ ไอมีเสมหะ และหอบเหนื่อย
  2. อาการของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละรายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วยและความรุนแรงของโรค
  3. โดยทั่วไปในผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสจะมีอาการและอาการแสดง ของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้นนำมาก่อน เช่น ไข้ น้ำมูก ไหล ไอ หลังจากนั้นผู้ป่วยจะค่อยๆ เริ่มมีอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว จมูกบาน ซี่โครงบาน และตัวเขียวได้
  4. ผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียมักจะมีอาการที่เกิดขึ้นเฉียบพลันดูป่วยหนักไอมาก และมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วยได้
  5. อาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ร้องกวนและงอแง ผู้ป่วยบางรายจะimageมี หนาวสั่นได้ ในเด็กทารกอาการแสดงของโรคปอดอักเสบส่วนมากจะไม่มีลักษณะเฉพาะ ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ อาจมีอาการซึม อาเจียน และไม่ยอมดูดนมหรือน้ำ
  6. อัตราการหายใจที่ผิดปกติเป็นตัวอาการบ่งชี้ที่มีความไวและมีความ จำเพาะที่ดีที่สุดในการให้การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นปอดอักเสบในเด็กที่มี อายุต่ำกว่า 5 ปี การนับอัตราการหายใจนั้นต้องนับเต็มหนึ่งนาที และควรนับอัตราการหายใจในขณะที่ผู้ป่วยสงบ และไม่ร้องไห้ ผู้ป่วยปอดอักเสที่มีอัตราการหายใจเร็วร่วมกับมีซี่โครงบานและบริเวณคอบุ๋ม มาก ขณะหายใจเข้าจะบ่งว่าอาการรุนแรงมาก

องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้อัตราการหายใจในการประเมินผู้ป่วย เด็กที่มีประวัติไข้ และไอเป็นอาการนำ โดยอัตราการหายใจที่เร็วผิดปกติจะบ่งชี้ถึงภาวะปอดอักเสบ

อัตราการหายใจที่ผิดปกติในกลุ่มอายุต่างๆ ในเด็ก ดังต่อไปนี้

  • อายุแรกเกิดถึง 2 เดือน อัตราการหายใจไม่ควรเกิน 60 ครั้ง/นาที
  • อายุ 2 เดือนถึง 12 เดือน อัตราการหายใจไม่ควรเกิน 50 ครั้ง/นาที
  • อายุ 12 เดือน ถึง 5 ปี อัตราการหายใจไม่ควรเกิน 40 ครั้ง/นาที

image

การวินิจฉัย

  1. จากการซักถามประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และการตรวจระบบทางเดินหายใจ
  2. การตรวจหาเชื้อก่อเหตุทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจเสมหะ การเพาะเชื้อ การตรวจน้ำเหลือง และการตรวจแอนติเจน
  3. ในต่างประเทศนิยมตรวจแอนติเจนของไวรัสบางชนิด เช่น RSV และ influenza ซึ่งจะมีประโยชน์ในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
  4. การตรวจภาพรังสีทรวงอก หรือที่เรียกว่าเอ็กซเรย์ปอด
  5. ในบางรายที่มีปัญหาในการวินิจฉัยอาจพิจารณาส่องกล้องผ่านทางหลอดลม

image

การรักษา

  1. หลักการรักษาโรคปอดอักเสบในเด็กขึ้นกับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค
  2. ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีมักได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ ความรุนแรงของภาวะขาดน้ำ ภาวะพร่องออกซิเจน และยังอาจพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดได้
  3. ผู้ป่วยปอดอักเสบและมีอาการไม่รุนแรงมาก เช่น มีไข้ ไอ และหายใจ เร็วไม่มากนัก แพทย์อาจจะให้การรักษาให้ยาปฏิชีวนะรับประทาน (ในกรณีที่สงสัยว่าปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย) และนัดผู้ป่วยมาดูเป็นระยะๆ ได้

ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการหนักต้องรับไว้ในโรงพยาบาล ได้แก่

  1. อายุน้อยกว่า 6 เดือน
  2. หอบมาก ต้องการออกซิเจน
  3. คลื่นไส้อาเจียน
  4. กินยาแล้วไม่ได้ผล
  5. ภูมิคุ้มกันต่ำ
  6. พ่อแม่ไม่น่าไว้วางใจว่าจะดูแลเด็กได้ดีพอหรือไม่

ยาปฏิชีวนะ

  1. การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ
  2. การเลือกยาในกลุ่มใดต้องพิจารณาถึงอายุของผู้ป่วย ประวัติการสัมผัสเชื้อ โอกาสที่เชื้อจะดื้อยา และอาศัยข้อมูลจากการซักถามประวัติอาการอื่นๆประกอบ

การเคาะปอดเพื่อให้เสมหะออกได้

พบว่าการเคาะปอดไม่จำเป็นในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคปอดอักเสบ แม้ว่าเด็กจะยังไม่สามารถขากเสมหะได้ดี แต่ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถกำจัดเสมหะออกจากทางเดินหายใจได้ สำหรับเด็กเล็กที่เป็นโรคหลอดลมฝอยอักเสบ การเคาะปอดมีประโยชน์ช่วยกำจัดเสมหะและเมือกในทางเดินหายใจ

imageยาขยายหลอดลม

ยาขยายหลอดลมไม่จำเป็นต้องให้ทุกราย การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียมักจะไม่ทำให้เกิด การหดเกร็งตัวของหลอดลมขนาดเล็ก เด็กเล็กที่มีภาวะหลอดลมไวต่อการกระตุ้นหรือในรายที่เป็นโรคหืด มักจะเกิดปัญหาหลอดลมหดเกร็งเมื่อมีการติดเชื้อไวรัส ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะตอบสนองดีต่อยาขยายหลอดลม


ออกซิเจน

แพทย์จะพิจารณาให้ออกซิเจนในผู้ป่วยที่เขียว หอบมาก มีอาการซึมหรือกระวนกระวาย ไม่ยอมกินนม และน้ำ หายใจเร็วมากกว่า 70 ครั้งต่อนาที การใช้เครื่องเพิ่มความชื้นให้กับลมหายใจเข้าไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าใดนัก พบว่าการเพิ่มความชื้นผ่านทางออกซิเจนได้ผลดีกว่า

สารน้ำและอาหาร

จะต้องให้พอเพียงกับความต้องการของผู้ป่วย ประโยชน์ของการให้สารน้ำ ที่เหมาะสมและเพียงพอจะช่วยลดความเหนียวของเสมหะ และสามารถขับเสมหะออกจากร่างกาย โดยการไอได้ง่ายขึ้น ลดการคั่งค้างของเสมหะที่อุดกั้นทางเดินหายใจในเด็กได้ และยังเป็นการทดแทนการสูญเสียน้ำจากร่างกายผู้ป่วยซึ่งเกิดจากภาวะไข้สูง หายใจหอบเร็ว


image

ระยะหาย

เมื่อผู้ป่วยหายจากปอดอักเสบแล้ว ส่วนใหญ่แล้วหน้าที่ของปอดจะกลับมาเป็นปกติ ความผิดปกติของภาพรังสีทรวงอกจะหายไปประมาณ 6-8 สัปดาห์ บางรายงานพบว่า ผู้ป่วยปอดอักเสบในวัยเด็กจะมีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดที่ลดลงกว่าปกติ เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ผู้ป่วยที่เป็นปอดอักเสบจากเชื้อที่รุนแรง เช่น เชื้อหัด
เชื้อไข้หวัดใหญ่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ หลอดลมบางส่วนเสียแบบถาวร

imageที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ


แสดงความคิดเห็น
ค้นหาบทความ
สินค้าแนะนำ
  • 00551: เครื่องพ่นละอองยา (NEBULFLAEM, Italy) 00551: เครื่องพ่นละอองยา (NEBULFLAEM, Italy) 5,700 4,450 บาท

  • 00566: ที่ล้างแผล 00566: ที่ล้างแผล 0 บาท

  • 00352: ไม้เท้าหัวฆ้อนพับได้ 00352: ไม้เท้าหัวฆ้อนพับได้ 390 บาท

  • 00637: รถเข็นล้อเล็กล้อหนา (Portable wheelchair) 00637: รถเข็นล้อเล็กล้อหนา (Portable wheelchair) 6,200 5,600 บาท

  • 00644: เครื่องให้อาหารสุนัขเล็ก (S06) - 6 Meal 00644: เครื่องให้อาหารสุนัขเล็ก (S06) - 6 Meal 1,550 1,150 บาท

  • 00040:  แผ่นให้ความร้อน (Exeter Thermo Pad) 00040: แผ่นให้ความร้อน (Exeter Thermo Pad) 1,890 บาท

  • 00536: ชุดทำแผลสเตอไรล์ 00536: ชุดทำแผลสเตอไรล์ 22 บาท

  • 00515: เครื่องวัดความดัน OMRON HEM-907 00515: เครื่องวัดความดัน OMRON HEM-907 24,000 18,900 บาท

  • 00026 : Mega We care Glow - 60 capsule 00026 : Mega We care Glow - 60 capsule 1,250 990 บาท